TRENDING: สทนช.-บพท.จับมือกันปั้นหลักสูตรนักบริหารจัดการน้ำ Read More

TRENDING: CKPower เดินหน้าส่งไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Read More

TRENDING: กทม. เตือนค่าฝุ่นกลับมาสูงอีกครั้ง 30 ม.ค. – 5 ก.พ. นี้ ย้ำงดเผา และ ร่วมจับตารถควันดำ Read More

TRENDING: เมืองไทยประกันชีวิต ชูกลยุทธ์ Read More

TRENDING: ธอส. ต้อนรับเดือนแห่งความรัก พร้อมสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ยื่นขอสินเชื่อบ้านร่วมกันได้แล้วทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป Read More

มีนาคม 10, 2021

โฆษกเพื่อไทย เตือนวิกฤตหนักการศึกษาไทย จาก TCAS64 เหตุ พลเอกประยุทธ์ลอยตัวเหนือปัญหา บีบเด็กไทยมองไม่เห็นอนาคต

นางสาวอรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีข้อเรียกร้องของนักเรียนและผู้ปกครอง ต่อการเลื่อนสอบรายวิชาที่ใช้ในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 (TCAS64) จากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  ว่าโรงเรียนหลายแห่งพบปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และเลื่อนกำหนดการสอบปลายภาคที่กระชั้นกับการทดสอบระดับชาติในรายวิชาต่างๆ แต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา กลับละเลย ทั้งที่พูดเสมอว่าเด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติ กระทรวงศึกษาและหน่วยงาน ทปอ. กสพท. สพฐ. และ สทศ. ยังคงมีมติเห็นสมควรให้มีการทดสอบรายวิชาต่างๆ ที่มีช่วงระยะเวลากระชั้นติดกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมของนักเรียน และไม่มีมาตรการเยียวยาตามสมควร

นางสาวอรุณี กล่าวต่ออีกว่า ในฐานะที่ตัวเองเป็นที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศึกษา ได้ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด อยากเรียกร้องให้รัฐบาลรวมถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ และผลักดันปัญหานี้เป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ สร้างเวทีเพื่อตกลงร่วมกันออกมาตราการเยียวยากลุ่มนักเรียนผู้ได้รับผลกระทบ ที่เกิดจากการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล เช่นเดียวกันกับที่รัฐได้ออกมาตรการเยียวยากลุ่มแรงงานอื่นๆ

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรถอดบทเรียนเรื่องนี้อย่างจริงจัง การศึกษาที่ดีไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง   เพื่อใช้เป็นแนวทางวางแผนจัดการศึกษาออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิมต่อไป ทั้งนี้รายงานจาก TDRI ระบุประเทศไทยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 21 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ร้อยละ 49 ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 2 แสนบาท มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพียงร้อยละ 3 ของครัวเรือนทั้งหมด และยังมีนักเรียนอีกเกือบ 8 หมื่นคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง รัฐบาลจะมีมาตรการดูแลเยียวยานักเรียนเหล่านี้อย่างไร

“ขณะที่การเรียนการสอนไม่เป็นไปตามปกติ โรงเรียนใช้วิธีการเรียนออนไลน์ แต่ผู้ปกครองก็ยังคงต้องแบกรับภาระค่าเทอมบุตรหลานเท่าเดิม อยากให้รัฐบาลไม่ลืม และมีมาตการช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองเรื่องนี้ด้วย” นางสาวอรุณี กล่าว