TRENDING: SME D Bank ได้คะแนนปรับเพิ่ม ผลประเมิน Fair Finance ปี 2566 Read More

TRENDING: CKPower กวาดรายได้ 10,941 ล้านบาท ปี 66 Read More

TRENDING: SME D Bank ผนึกกำลัง ดีพร้อม – บสย. ติดปีกเอสเอ็มอี Read More

TRENDING: รวมพล..คนฮัจย์ Read More

TRENDING: EXIM BANK คว้ารางวัล Leadership Excellence Award Read More

สิงหาคม 20, 2021

ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในไทยทะลุล้าน!!

ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในไทยทะลุล้านคน ศบค. เผยข้อมูลช่วง ส.ค.-ก.ค.ผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเสียชีวิตสูงคิดเป็น 63.8% พบการบูสเตอร์เข็ม 3 แอสตร้าเซเนก้าภูมิขึ้นสูง

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ประจำวันที่ 20 สิงหาคม ว่า ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 34 ของโลก ผู้ป่วยรายใหม่วันนี้ 19,851 รายติดเชื้อในประเทศ 19,516 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 10 ราย จากเรือนจำที่ต้องขัง 325 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 980,847 ราย หายป่วยแล้ว 20,478 ราย หายป่วยสะสม 768,379 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 240 คน เสียชีวิตสะสม 8,732 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89% ผู้ป่วยรักษาอยู่ 205,079 ราย ในโรงพยาบาล 46,023 ราย ในโรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 159,056 รายอาการหนัก 5,388 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,161 ราย หากนับผู้ติดเชื้อตั้งแต่ปี 2563 จะพบว่าผู้ติดเชื้อรวมมากกว่า 1 ล้านรายแล้ว

ขณะที่แนวโน้มผลการตรวจ ATK ตัวเลขรายงานแต่ละวันที่เป็นเปอร์เซ็นต์ พบการติดเชื้อในกรุงเทพมหานครวันนี้ 14.4 เปอร์เซ็นต์ วันถัดไปหากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีผลตรวจเป็นบวกจะเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา หรือ Home Isolation ในทันทีแต่ถ้าต้องเข้า Community Isolation หรือจำเป็นต้องเข้าสู่โรงพยาบาลในระดับสีเหลืองหรือสีแดงจะต้องมีการยืนยันด้วยการตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งจะนำยอดไปบวกรวมกับตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยรวมด้วย

ผู้รับวัคซีน ฉีดแล้ว 25,818,666 โดส เข็มที่หนึ่งเพิ่มขึ้น 651,606 รายสะสม 19,586,009 ราย เข็มที่สองเพิ่มขึ้น 201,318 ราย สะสม 5,705,200 ราย เข็มที่สามเพิ่มขึ้น 7,853 ราย สะสม 527,457 ราย

ทั้งนี้ยอดการเสียชีวิตจะไปยังจังหวัดอื่นๆ ซึ่งการทำรายละเอียดผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 25 กรกฎาคมถึงวันที่ 19 สิงหาคม จัดศึกษาในกลุ่มผู้เสียชีวิต 4,656 รายพบว่ากลุ่มนี้ 2,969 คน ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนคิดเป็น 63.8% มีผู้ได้รับวัคซีนแอสตราเซนเนก้า 1 เข็มแล้วติดเชื้อภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งภูมิคุ้มกันยังไม่ได้เกิดขึ้นเสียชีวิต 316 รายคิดเป็น 0.7% ผู้ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็ม1 เกิน 4 สัปดาห์ เสียชีวิต 118 ราย คิดเป็น 2.6% และผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 26 ราย คิดเป็น 0.6% และกลุ่มข้อมูลไม่ครบ 874 ราย คิดเป็น 19.2% ซึ่งแนวโน้มการติดเชื้อค่อนข้างคงที่และกราฟไม่ได้สูงชันขึ้นเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ย้ำว่าแม้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วก็ยังประมาทไม่ได้ มีโอกาสที่จะกลายเป็นผู้ติดเชื้อได้

แพทย์หญิงอภิสมัย กล่าวว่า มีรายงานกลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับศิริราชพยาบาล ได้มีการศึกษาวัคซีนสลับ และการให้วัคซีนในเข็มสาม ต่อการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า มีผู้เข้าร่วมศึกษา 125 ราย การศึกษาด้วยวัดระดับภูมิคุ้มกัน แบ่งเป็น 1.กลุ่มผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ค่าที่ได้ 24.31 2.แอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม ค่าที่ได้ 28.83 3. ซิโนแวคเข็ม1 และแอสตร้าเซเนก้าเข็ม 2 ค่าที่ได้ 87.65 4. กลุ่มบุคลากรการแพทย์ที่ได้รับการกระตุ้นหลังฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม และตามด้วย แอสตร้าเซเนก้า ค่าที่ได้ 271.17

ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นย้ำนโยบายที่จะให้มีการฉีดวัคซีนด้วยการใช้วัคซีนไขว้วัคซีนสลับ ฉีดซิโนแวคเข็ม 1 ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งในที่ประชุมศบค. ชุดเล็ก กรุงเทพมหานคร ได้รับนโยบายไปปฏิบัติ นอกจากนี้ในส่วนการศึกษาพบว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการใช้วัคซีนไขว้ด้วยซิโนแวค 1 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า พบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ผลดี และใช้เวลาฉีดระหว่างเข็มหนึ่งและเข็มสองเพียงสามสัปดาห์ ทำให้มีความเหมาะสมกับบริบทการติดเชื้อสถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่กระจายเป็นวงกว้างของทั้งประเทศในตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยอื่นๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ ในศูนย์วิจัยคลินิกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งมีการศึกษาวิจัยวัคซีนต่างชนิด ทั้งในเข็ม1,2 ยี่ห้อต่างกัน และมีการกระตุ้นด้วยเข็ม3 ซึ่งรวมถึงวัคซีนไฟเซอร์ด้วย

นอกจากนี้ในการแสดงระดับความรุนแรงของผู้ติดเชื้อที่รอจัดสรรเตียง เมื่อมีการพัฒนาระบบ Home Isolation, Community Isolation ทำให้ผู้ป่วย 80-90 เปอร์เซ็นต์ ที่มีอาการหรือไม่มีอาการ ระดับเล็กน้อยได้รับการดูแลที่บ้านหรือCI ทำให้เตียงระดับสีเหลืองหรือสีแดงว่างขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะรุนแรงฉุกเฉินเข้าถึงเตียงได้มากขึ้น โดยวันนี้จะเห็นว่าสัปดาห์นี้อัตราผู้ป่วยสีแดงที่รอเตียง มีจำนวนน้อยลง และวันรอเตียงพยามให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกัน ที่ผู้ป่วยจะสามารถได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที

ทั้งนี้ศูนย์พักคอยในพื้นที่กรุงเทพมหานครเปิดดำเนินการแล้ว 64 แห่ง จำนวน 8,446 เตียง การครองเตียง 3,571 ราย คงเหลือ4,875 เตียง รับผู้ป่วยรายใหม่วันนี้ 315 ราย สะสม 14,161 ราย จำหน่ายแล้ว 349 ราย อยู่ระหว่าง CI 3,571 ราย ขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มสีส้ม และสีเหลือง จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน จะมี CI+ อีก 7 แห่ง 1,036 เตียง มีศักยภาพที่จะดูแลผู้ป่วยในระดับสีเหลืองเข้มขึ้น โดยจะอยู่ในการดูแลของโรงพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิดเพื่อให้คนไข้ได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย ทั้งนี้การพัฒนาระบบอาจจะยังไม่สมบูรณ์ โดยมีรายงานจากหลายส่วนว่าอาจมีส่วนหนึ่งที่ยังตกหล่นผู้ป่วยเข้ารับบริการแยกกักที่บ้าน และมีรายงานว่าไม่ได้รับยาไม่ได้รับอาหารตามที่ควรจะได้ ในการตรวจสอบทางกรุงเทพมหานครรายงานว่า เป็นการที่ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในระบบข้อมูลการรอเตียง CI แทนที่จะขึ้นว่าเป็น SI หรือ Home Isolation ซึ่งในส่วนนี้จะรับและแก้ไขให้เรียบร้อยแล้วซึ่งผู้ป่วยได้รับการดูแลเรียบร้อย

นอกจากนี้ยังมีการซ้ำซ้อนข้อมูลคนไข้เข้าสู่ Home Isolation และอาจติดต่อไปและได้ดูแลจากทั้งสองที่ ทั้งนี้ขอเน้นย้ำการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล แม้จะเป็นผู้ฉีดวัคซีนครบสองเข็ม วัดภูมิคุ้มกันขึ้นแล้ว แต่ต้องระมัดระวังตัว การ์ดตกไม่ได้ โดยเฉพาะตอนนี้เรามีทิศทางแนวโน้มผู้ติดเชื้อเสียชีวิตทรงตัว ซึ่งกำลังหวังว่าตัวเลขจะดีขึ้น ดังนั้นอย่าให้เกิดความผิดพลาดในช่วงสุดท้ายที่เราจะต้องร่วมมือกันต่อ