TRENDING: SME D Bank ได้คะแนนปรับเพิ่ม ผลประเมิน Fair Finance ปี 2566 Read More

TRENDING: CKPower กวาดรายได้ 10,941 ล้านบาท ปี 66 Read More

TRENDING: SME D Bank ผนึกกำลัง ดีพร้อม – บสย. ติดปีกเอสเอ็มอี Read More

TRENDING: รวมพล..คนฮัจย์ Read More

TRENDING: EXIM BANK คว้ารางวัล Leadership Excellence Award Read More

กันยายน 29, 2021

กบข. คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2564 ระดับดีเด่น ตอกย้ำบทบาทมุ่งสู่การเป็นองค์กรยั่งยืน

ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564 ในระดับดีเด่น ประเภทองค์กรภาครัฐ จัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 31 องค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัล จากการประเมินองค์กรทั่วประเทศ โดย กบข. เข้าร่วมรับการประเมินองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนเป็นปีแรก

สำหรับเกณฑ์การประเมินได้พิจารณาจากการดำเนินงานขององค์กรตามภารกิจที่เคารพในหลักการสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่น เพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน ซึ่ง กบข. ได้ดำเนินภารกิจขององค์กรภายใต้หลักการ “เสมอภาค เป็นธรรม และไม่เลือกปฎิบัติ” ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานทุกมิติ อาทิ สมาชิก กบข. พนักงาน พันธมิตรธุรกิจ และสังคม

กบข. มุ่งมั่นผลักดันการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้ความสำคัญและเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGPs) ที่เน้นย้ำในเสาหลัก 3 ประการ ได้แก่ การคุ้มครอง การเคารพ และการเยียวยา อีกทั้งยังบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนในทุกภาคส่วน โดยกำหนดนโยบาย แผนยุทธศาสตร์องค์กร ตลอดจนนำไปปฏิบัติ ทั้งในด้านการบริหารจัดการลงทุน การบริการงานสมาชิก ตลอดจนการบริหารองค์กร เพื่อสร้างกระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในกิจการขององค์กรทุกกระบวนการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ทั้งนี้ กบข. เชื่อว่า การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชนที่ดีจะนำมาสู่ความมีศักดิ์ศรี ตลอดจนความน่าเชื่อถือขององค์กร อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable Organization) อีกทั้งยังเป็นพลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศและสังคมโลก ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป