TRENDING: SME D Bank ได้คะแนนปรับเพิ่ม ผลประเมิน Fair Finance ปี 2566 Read More

TRENDING: CKPower กวาดรายได้ 10,941 ล้านบาท ปี 66 Read More

TRENDING: SME D Bank ผนึกกำลัง ดีพร้อม – บสย. ติดปีกเอสเอ็มอี Read More

TRENDING: รวมพล..คนฮัจย์ Read More

TRENDING: EXIM BANK คว้ารางวัล Leadership Excellence Award Read More

พฤศจิกายน 20, 2022

“ห่วง “ของผู้ว่า ธปท

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาสนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ  อาศัยจังหวะและช่วงโอกาส หลังจากการเดินทางไปประชุมระดับนานาชาติ ว่าด้วยการเงินของโลก และพบปะบรรดาผู้นำทางด้านการเงินของโลกทีมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาของเศรษฐกิจ มีโอกาสอัพเดทสถานการณ์ให้บรรดา บรรณาธิการอาวุโส หลาย ๆ คน ฟังถึงความกังวลและ”ห่วงบรรยากาศ ทิศทางการลงทุน อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ที่เกี่ยวโยงพัวพันกันไปหมดทั้งโลก

ผู้ว่าบอกว่าปัจจัยหลักๆที่เอื้อประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวยังไม่เปลี่ยนแปลง เพราะหลัก ๆ การฟื้นฟูมาจากการบริโภคในประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากรายได้ที่เติบโตต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว

ส่วนเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงก็คาดไว้แล้ว ทำให้การคาดการณ์ส่งออกปีนี้โต 8% ปีหน้าโต 1% แล้วโอกาสที่ปีหน้าจะแย่มาก โตต่ำกว่า 3% มีโอกาสน้อยมาก คือต้องเห็นการบริโภคโตต่ำกว่าที่คาดไว้เยอะมาก หรือส่งออกแทนที่จะเติบโตน้อยกลายเป็นหดตัว หรือติดลบ 1-2% ซึ่งประเมินว่าคงไม่เห็นภาพขนาดนั้น ทำให้คิดว่ายังคงเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่ เพียงแค่ช่วง take off อาจไม่ smooth  ปัจจัยหลักมาจากโลก

 ช่วงหลังได้ไปร่วมประชุมในเวทีต่างประเทศ พบว่า การประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) การประชุมธนาคารโลก ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐ พบว่า มีความเปลี่ยนแปลงไปจากปีที่แล้วที่ถกกันเรื่องเงินเฟ้อว่าจะเป็นชั่วคราวหรือไม่ ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า อยู่ยาว แล้วปีที่แล้วคาดว่าโลกคงไม่เข้าภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) แต่ตอนนี้กลายเป็นเงินเฟ้อแรงกว่าที่คิด และเศรษฐกิจชะลอตัวกว่าที่คิด แล้วยังมีประเด็นที่เดิมคนไม่ค่อยพูดถึง แต่เริ่มเห็นสัญญาณแล้ว คือ เรื่อง market unfunctioning คือการที่ตลาดเริ่มไม่ทำงาน 

โดยที่ประชุมยังคงกังวลเรื่องปัญหาเงินเฟ้อ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ที่ไม่ห่วงเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ห่วงเรื่องตลาดแรงงานที่ร้อนแรงมาก ดีมานด์ยังโตอยู่ กลายเป็นว่าสหรัฐขาดแรงงาน

ผู้ว่าธนาคารกลางท่านหนึ่ง we don’t need demand we need more worker คือเขาไม่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วขาดแรงงาน ภาพเศรษฐกิจของประเทศหลัก ยกเว้นญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องดีมานด์ที่เติบโตเร็ว แรงงานขาดแคลน ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น เงินเฟ้อร้อนแรง

 ที่จะกังวลคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทุกประเทศจึงเน้นการเหยียบเบรก โดยใช้นโยบายการเงินที่ค่อนข้างแรงจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ

แต่ปัจจัยที่เดิมไม่ค่อยมีใครพูดถึง แต่เริ่มเห็น คือการที่ตลาดโลกมีสัญญาณที่ไม่ค่อยจะดีในหลายที่ คือ function ของตลาดไม่ค่อยปกติ market มันไม่ค่อย function smoothly สาเหตุมันเข้ากับสำนวนไทยที่ว่า น้ำลดตอผุด น้ำที่ลดก็มาจากการที่คงดอกเบี้ยในอัตราต่ำเป็นเวลายาวนาน ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านมาไม่ค่อยเห็นปัญหา เพราะว่าสภาพคล่องสูงมาก ดอกเบี้ยต่ำ ทุกอย่างไปได้ดี แต่ตอนนี้น้ำลง แล้วดันลงเร็ว แต่เดิมดอกเบี้ยจะขึ้นครั้งละ 0.25% แต่ตอนนี้ปรับขึ้นถึงครั้งละ 0.75% ซึ่งเร็วและแรง และหนี้ในระบบโดยรวม leverage มันสูง balance sheet 

แต่เดิมปกติเวลาเห็นความเสี่ยง ตอจะผุดตรงไหน เราจะคิดว่าปัญหาจะเเกิดในจุดที่เสี่ยงและเปราะบาง ปัญหาคือ secter ไหน เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก เอสเอ็มอี ถ้าเป็นประเทศก็กลุ่ม emerging markets แต่รอบนี้ปัญหาไม่ได้เกิดเฉพาะ big corp แต่เกิดในประเทศที่ safe ที่สุด ในตลาดที่ safe ที่สุด ในสินค้าที่ safe ที่สุด ตัวอย่างที่อังกฤษ advance economy ปัญหาเกิดในตลาดพันธบัตรรัฐบาล ที่มีความผันผวนมหาศาล และความผันผวนนี้ไปเกิดระเบิดในตลาด pention fund สะท้อนว่า ระเบิดจะเกิดที่ไหนก็ได้ ทำให้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแรงกว่าปกติ คือของที่เราคิดว่าเสี่ยง เกิดระเบิดขึ้น คนจะรู้สึกว่า อ๋อ รู้อยู่แล้ว ตอนที่เราทำ stress test ก็จะดูจุดที่เสี่ยง

 แต่ตอนนี้ปัญหาเกิดและแรงในจุดที่เดิมไม่เคยคิดว่าเสี่ยง คือเป็นจุดที่เคยคิดว่าปลอดภัยมาโดยตลอด โดยนอกจากอังกฤษ ล่าสุด ในตลาดที่ safe ที่สุดในโลก คือ ตลาดพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง เดิมตลาดนี้เป็นตลาดที่เคยเข้าออกได้สะดวกที่สุด จะขายเท่าไหร่ก็มีคนซื้อ จะซื้อเท่าไหร่ก็มีคนขาย และราคาไม่แกว่ง แต่ช่วงหลังตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสภาพคล่องเริ่มหด แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่สัญญาณที่ดี มันเริ่มออกอาการ ทำให้ปีหน้าเห็นกับระเบิดที่พร้อมจะระเบิดอยู่ และไม่รู้ว่าจะเป็นจุดไหน แต่เชื่อว่าสภาพนี้มีแน่  และผลกระทบจะขึ้นกับว่า ไปผุดตรงไหน 

ถ้าจำได้ปี 2008 วิกฤตซับไพรม์ ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา แต่ธนาคารแรกที่ล้มอยู่ที่เยอรมัน ฉะนั้น ครั้งนี้ปัญหาจะไปผุดที่ไหน มันดูไม่ออก แต่ถ้าถามว่าในเอเชีย กังวลที่ไหนมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น ที่อยู่ในสภาพน้ำลงตอผุด ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำมาตลอด เมื่อไหร่ที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มขึ้น แม้จะยืนยันไม่ขึ้นดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว JJB เริ่มขยับขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ใครที่ถือก็จะถูก mark to market capital loss แล้วถ้าทั่วโลกขึ้นดอกเบี้ย ความสามารถในการคุมอัตราดอกเบี้ยก็จะลำบากขึ้น ในเอเชีย ตลาด JJB จึงน่ากังวล

 ในที่ประชุมไม่ได้มีความกังวลต่อธนาคารพาณิชย์ ไม่เหมือนปี 2008 แต่คิดว่าปัญหาจะอยู่กับผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ nonbank มากกว่า กองทุนขนาดใหญ่ อีกจุดที่น่ากังวลคือ เงินกู้ยืมและตราสารหนี้ภาคเอกชน private credit , private equity 

เพราะฉะนั้น ปีหน้าจะมีข่าวไม่ค่อยดีเกิดขึ้นในตลาดการเงินโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ฟื้นตัว เพราะเศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ shock style ได้ดีกว่าที่อื่น มีภูมิคุ้มกันดีเทียบกับที่อื่น เพราะเวลามีข่าวไม่ค่อยดี ก็อาจจะเกิดภาวะเงินไหลออก แต่ไทยมีความสามารถในการรับมือได้ดีกว่าเทียบกับที่อื่น 

เพราะฉะนั้นที่น่าห่วง คือ market disfunction คือการที่ตลาดเคยทำงานดี มีความผิดปกติ ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย แม้สถานะของธนาคารพาณิชย์จะดี แต่ปัญหาจะลามไปที่ nonbank 

ส่วนหนึ่งที่มอง nonbank มากกว่า bank เพราะ feasibility น้อยกว่า แล้วก็กู้มาก leverage สูง ถ้าเกิดสะดุด โอกาสจะล้มมีสูง

ส่วนปัญหาเงินเฟ้อของโลกก็ยังไม่น่าวางใจ ไม่ลงง่าย สำหรับประเทศไทย นโยบายเดิมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ยังเหมาะสมอยู่ เพราะบริบทต่าง ๆ ไม่เหมือนประเทศอื่น อัตราเงินเฟ้อของไทยไม่เหมือนที่อื่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยก็ไม่เหมือนที่อื่น เศรษฐกิจไทยค่อย ๆ ฟื้นตัว และมีหนี้สูง ถ้าขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงช่วงเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ก็มีโอกาสที่จะไม่ฟื้นตัวอย่างที่เราอยากเห็น แต่การดำเนินนโยบายแบบนี้ก็มีผลต่อค่าเงินที่สวิงไปทางอ่อนค่า แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะมีหลายอาการและอาการไหนมีผลระยะยาวกว่า เช่น ค่าเงินบาทที่บางช่วงอ่อน อ่อนเสร็จก็กลับมาแข็ง แต่ดอกเบี้ยถ้าขึ้นไปแล้วจะมาลง มันไม่ใช่ ถ้าขึ้นดอกเบี้ยก็ต้องขึ้นต่อเนื่อง การขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่รายได้คนยังไม่ขึ้น จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และคงกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก็จะเป็นเอ็นพีแอลไปอีกยาวนาน ขณะที่ค่าเงินแข็งแล้ว ก็อ่อนค่าได้ และก็มีสิทธิ์จะแข็งค่าได้ ไม่ใช่ไม่แคร์เรื่องเงินอ่อน แต่ก็ดูแลไม่ให้อ่อนเกินไป และโดยพื้นฐานเศรษฐกิจไทย เงินบาทไม่อ่อนไปจนกระทบเสถียรภาพ ซึ่งช่วงหลังก็จะเห็นว่าเงินบาทกลับมาแข็งค่า

เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ ที่ช่วงแรกจะเห็นว่าสูงมาก 7.9% แต่จะเห็นว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงตามที่มองไว้ แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อของไทยไม่เหมือนในต่างประเทศที่ขึ้นแล้วไม่ยอมลง

นอกจาก maket ไม่ function ก็ยังมีความเสี่ยงเรื่อง Geo Political ถ้าในระยะยาวมีการแบ่งขั้วกันจริง ๆ ประเทศอย่างไทยจะเหนื่อย อีกอย่างที่ต้องระวังมาก คือ ความเสี่ยงจากนโยบายแปลก ๆ จากการหาเสียง เพราะมีบทเรียนจากต่างประเทศที่ชัดเจน คือ อังกฤษ ที่ทำให้เห็นว่า ตลาดจะ punish นโยบายที่เป็น stupid policy และการทำอะไรผิดพลาด ยังต้องจ่าย stupid premium อีกต่างหาก ที่เห็นอยู่คือนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับหนี้ เช่น พักหนี้เท่านี้ปี หรือพักหนี้แล้วพักดอกด้วย ไม่คิดดอกเบี้ย ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกที่ทำแบบนี้ ที่ผ่านมา ไทยถูกวางในจุดที่เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะปัจจัยพื้นฐาน แต่ถ้าเราไม่ทำแบบนั้น ภาพก็จะเปลี่ยน ถูกมองว่า มีความเสี่ยงทางการเมืองสูง ทำอะไรแปลก ๆ ทำอะไรที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของธนาคาร 

“อะไรที่ทำแล้วอาจจะฟังดูดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวมีผลข้างเคียงเยอะ ทำให้เขาไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี เช่นการที่จะลบข้อมูลเครดิตบูโร เข้าใจว่าเป็นวิธีซื้อใจคน หาเสียง แต่มันมีผลข้างเคียง และท้ายที่สุดคนจะเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้” 

นโยบายการคลัง ถือว่าทำสอดคล้องกัน การคลังจะดูแลกลุ่มเปราะบาง เฉพาะจุดมาก ๆ แต่ปัญหาคือ จะเหวี่ยง โดย OECD ประเมินว่ากว่า 90% ของมาตรการที่ออกมาไม่ตรงเป้าหมาย การทำอะไรที่ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะดีกว่า เพราะการให้แบบปูพรมมันใช้เงินเยอะ การช่วยเฉพาะจุดจะตรงจุด และทำได้เยอะกว่า ตรงกว่า ส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นนั้น ท่านรัฐมนตรีคลังก็ concern โดยค่อย ๆ ทำ และใช้กระสุนให้ตรงจุด

นโยบายการเงินกับนโยบายการคลังถ้าไม่ประสานกัน มีตัวอย่างที่อังกฤษที่เละส่วนหนึ่งเพราะเรื่องนี้ ทางคลังประกาศว่าจะลดภาษี แต่ไม่รู้จะไฟแนนซ์อย่างไร ก็เจ๊ง การประสานงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ รู้ว่าฟังดูแล้วไม่ป๊อบปูลาร์ แต่ต้องเน้นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจ ณ จังหวะนี้ เทียบกับก่อนหน้านี้ที่ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะมีเรื่องโรคระบาดโควิด แต่ตอนนี้แม้จะฟื้นช้า แต่ก็ฟื้น การจะมาเหยียบคันเร่งตลอดเวลาไม่เหมาะสม ด้านกระทรวงการคลังก็พยายาม consolidate แล้วถ้าละเลยเรื่องเสถียรภาพ ตลาดก็จะมาตี ฉะนั้น ถ้าดูจากปัจจัยพื้นฐานของไทยโอเคแล้ว อย่าสร้างความเสี่ยงเพิ่มเติม

“ความเสี่ยงด้านนี้มีพอสมควร เพราะเป็นช่วงใกล้เลือกตั้ง ปัจจัยโลกเราคงควบคุมไม่ได้ ยกเว้นสร้างภูมิคุ้มกันไว้ แต่ตัวเราอย่าไปสร้างความเสี่ยงเพิ่มเติม ทำอะไรที่ทำให้เสถียรภาพหายไป คือบริษัทจัดเครดิตเรตติ้งจะดูแบงก์ไทย ไส้ในดูเหมือนกำไรเยอะ แต่เครดิตเรตติ้งจะมองอีกแบบ คือ จะดูศักยภาพ ดูความสามารถในการทำกำไร เอ็นพีแอลจะสูงขึ้นหรือไม่ การออกนโยบายตอนหาเสียงก็ขอว่า อย่าออกอะไรที่แปลก ๆ แล้วคำนึงถึงผลข้างเคียง ถ้าคิดผลระยะสั้น ไม่คิดถึงระยะยาว ไม่คิดถึงผลข้างเคียง โดยเฉพาะตอนนี้ที่ตลาด market ready to punish stupid policy จากบทเรียนที่อังกฤษ”

ภูมิคุ้มกันที่ประเทศไทยมีถือว่าใช้ได้ และขึ้นกับ shock ประเภทไหน โดยในปีหน้าปัจจัยที่จะช่วย คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะเกินดุล เพราะการท่องเที่ยวกลับมา ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยระดับหนึ่ง ถึงได้พูดว่า เทียบกับที่อื่นเราน่าจะดีกว่า และความสามารถในการรองรับการอ่อนค่าของค่าเงินของไทยก็ดีกว่าที่อื่น เพราะหนี้ต่างประเทศไม่มาก แต่การที่ค่าเงินบาทอ่อนมาก แล้วส่งผลต่อเงินเฟ้อ ทำให้ภาพเงินเฟ้อที่คนไม่คาดคิดว่าจะไม่วิ่งต่อมันเปลี่ยน เรา concern เพราะที่อ่านมาค่าเงินที่อ่อน ผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปไม่ได้เยอะ แต่มันมีหลายอย่างประดังเข้ามาอาจเกิดการส่งผ่านไปถึงเงินเฟ้อมากกว่าปกติ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้มาก ผลกระทบหลักๆ ต่อเงินเฟ้อยังเป็น ราคาน้ำมัน

ส่วนเศรษฐกิจไทยปีหน้าที่คาดว่าจะโต 3.8% โอกาสจะต่ำกว่า 3% มีน้อย