TRENDING: SME D Bank ได้คะแนนปรับเพิ่ม ผลประเมิน Fair Finance ปี 2566 Read More

TRENDING: CKPower กวาดรายได้ 10,941 ล้านบาท ปี 66 Read More

TRENDING: SME D Bank ผนึกกำลัง ดีพร้อม – บสย. ติดปีกเอสเอ็มอี Read More

TRENDING: รวมพล..คนฮัจย์ Read More

TRENDING: EXIM BANK คว้ารางวัล Leadership Excellence Award Read More

ตุลาคม 24, 2023

บททดสอบอัมพวา ภายใต้นิยามใหม่ “สมุทรสงครามอยู่ดี”

12 ปี ที่ลงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดที่มีพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยอำเภอบางคนที อำเภอเมืองสมุทรสงคราม และอำเภออัมพวา ที่โลกรู้จักกันดีในชื่อของตลาดน้ำเมืองไทย Floating Market ที่ชาวต่างชาติต้องมาเยือนสักครั้งเมื่อมาเที่ยวประเทศไทย 

รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และหัวหน้าโครงการวิจัยสุมทรสงครามอยู่ดี บอกว่า การลงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงครามที่ผ่านมา พบความน่าสนใจของชุมชนพื้นบ้าน ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน รวมทั้งได้ทำแผนที่จังหวัดสมุทรสงครามได้ทั้งหมด

มีเป้าหมายที่ครอบคลุม 4 เป้าหมาย เป้าหมายที่ 1 คือแผนที่นิเวศวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ท้องถิ่น ด้วยการสำรวจแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม นิเวศวัฒนธรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในชุมชนท้องถิ่น และจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารโครงการและใช้ประโยชน์ในโครงการริเริ่มในอนาคต จนไปสู่จัดการทำฐานข้อมูลระดับชาติของงานวิจัย

เป้าหมายที่ 2 การหนุนเสริมพลังผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ศิลปิน ช่างฝีมือท้องถิ่น และผู้สืบทอดทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางธรรมวัฒน

เป้าหมายที่ 3 คือกลยุทธการจัดการนิเวศวัฒนธรรมชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบนฐานคุณค่าและส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

เป้าหมายที 4 คือสืบสานและพัฒนาทรัพยากรวัฒนธรรมบนคุณค่า สร้างความเข้มแข็งวิถีวัฒนธรรมและยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน

แผนที่นิเวศทางวัฒนธรรม ทำให้ 12 ปีที่เข้าไปทำงานวิจัยพบคุณค่าทางวัฒนธรรมและแนวความคิดทางศาสนา ที่เห็นชัดเจนคือภาพศิลปะในวิหารพระพุทธบาทวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา ที่เป็ฯมรดกสทางศาสนาประจำถิ่น  ตัวอาคารเป็นเครื่องก่อขนาดไม่ใหญ่โตนัก หน้าบันของอาคารทั้งด้านหน้าและด้านหลังตกแต่งเด้วยปูนปั้นเป็นลวดลายมงคลแบบจีนผสมกับกลิ่นอายตะวันตก ภายในอาคารประดิษฐาน “รอยพระพุทธบาทสี่รอย”

แต่สิ่งที่วิจิตรบรรจงคือบนผนังอาคารคกแต่งด้วยประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงลงสี เรื่องหลัก 3 เรื่อง รอยพระพุทธบาท  4 รอย และภาพปูนปั้นที่มีความหมายเชื่อมโยงกับทางโลกและทางพุทธ ศิลปินยังสอดแทรกกิจกรรมพื้นถิ่น ผลใม้ ต้นไม้พื้นถิ่น เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบต่อทางวัฒนธรรม

 นายกฤษฎี กลิ่นจงกล นายกเทศมาตรีตำบลอัมพวา พยายามยกระดับแนวทางให้ชาวอัมพวาได้กลายเป็นผู้ประกอบการตัวจริง แทนที่นายทุนจากพื้นที่อื่นที่ได้เข้ามายึดครองตลาดน้ำอัมพวา จนทำให้เกิดปัญหาระดับชุมชน  หาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ บุกเบิกคลองบางจากให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างกิจกรรมการพายเรือไปชมหิงห้อย โดยไม่ใช้เรือยนต์เพื่อไม่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ สร้างกิจกรรมพายเรือให้กับนักเรียน ป 5 ป 6 เป็นมัคคุเทศก์น้อยพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมอัมพวา ภายใต้กิจกรรม พายไปกิน พายไปชิม พายไปอนุรักษ์

รวมถึงสร้างอัมพวาซึ่งเป็นเมืองต้นกำเนิดของรามเกียรติ์ในเมืองไทย ที่นี่เป็นแหล่งประตูของล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 ที่ทรงพระราชนิพนธ์บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ ทุกเสาร์-อาทิตย์ จะให้เด็ก ๆ มาแสดงความสามารถทางวัฒนธรรม แสดงรามเกียรติและโขน จัดในป้ายตลาดน้ำตอกย้ำอัมถวาเมืองรามเกียรติ์

เป้าหมายที 4 คือสืบสานและพัฒนาทรัพยากรวัฒนธรรมบนคุณค่า สร้างความเข้มแข็งวิถีวัฒนธรรมและยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน

ขณะเดียวกันชุมชนอัมพวายังถือเป็นแหล่งผลิตเครื่องเบญจรงค์มาเป็นรุ่นที่ 3 แล้วปิ่นสุวรรณเบญจรงค์ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวอัมพวา ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพฝีมืออันประณีตและเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ นับตั้งแต่คุณวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ สืบทอดมาสู่คุณสรัญญา สามสิริ เบญจรงค์ปิ่นสุวรรณ ไปสู่เบญกาย การนำเอาเครื่องเบญจรงค์อันทรงคุณค่า ถ่ายทอดเป็นเครื่องประดับ สมัยใหม่ ที่เพิ่มความคิดสร้างสรรค์

สมุทรสงครามอยู่ดี  จากต้นทุนนิเวศวัฒนธรรมสุ่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่อวิถีวัฒนธรรมและยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับทุนวิจัยทางหน่วยบริหารจัดการทุนดานการพัฒนาระดับพื้นที่หรือบพท ให้การสนับสนุน จะได้เป็นแนวทางต้นแบบเพื่อใช้กับชุมชนอื่นๆ ในประเทศไทยต่อไป