TRENDING: SME D Bank ได้คะแนนปรับเพิ่ม ผลประเมิน Fair Finance ปี 2566 Read More

TRENDING: CKPower กวาดรายได้ 10,941 ล้านบาท ปี 66 Read More

TRENDING: SME D Bank ผนึกกำลัง ดีพร้อม – บสย. ติดปีกเอสเอ็มอี Read More

TRENDING: รวมพล..คนฮัจย์ Read More

TRENDING: EXIM BANK คว้ารางวัล Leadership Excellence Award Read More

พฤศจิกายน 6, 2023

พันธกิจ EXIM BANK Green Development Bank

ก้าวไปข้างหน้าปี 2567 ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าหรือ Exim Bank ภายใต้ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร จับเอากระแสโลกสีเขียว หรือ Green เป็นหลักในการพัฒนาและปล่อยสินเชื่อของธนาคาร

กระแสโลกสีเขียว เป็นเรื่องที่ปฎิเสธไม่ได้ เพราะโลกก้าวเข้าสู่ภาวะโลกร้อน ความไม่มีเสถียรของสภาพภูมิอากาศ การตั้งกำแพง กีดกันทางการค้า โดยข้อกำหนดว่า สินค้าที่จะส่งไปขายต้องจากมาพลังงานทดแทน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อโลก ต่อประชากร ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ยิ่งสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก จะต้องสอบทานที่มาของการผลิตสินค้านั้น ๆ ได้

ปัจจุบันสินเชื่อที่เกี่ยวกับ Green Portfolio  และที่เกี่ยวเนื่อง อยู่ที่ 37 เปอร์เซ็นต์หรือ 60,298 ล้านบาทเพิ่มขึ้นถึง 37.36 เปอร์เซ็นต์เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี 14,122 ล้านบาทคิดเป็น 23.42 เปอร์เซนต์ และจะเพิ่มเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ในปี 2571 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 ปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 148,429 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 7.53 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนการสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งสินเชื่อและประกันของเอ๊กซิมแบงก์ สิ้นเดือนกันยายน มีลูกค้า 6,138 รายเพิ่มขึ้น 6.05 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้มีลูกค้าเอสเอ็มอีมากกว่า 83 เปอร์เซ็นต์

ที่ผ่านมา Exim Bank ได้ออกพันธบัตรกรีนบอนด์กว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อส่งต่อเงินดังกล่าวให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการสินเชื่อประเภทนี้ไปแล้วค่อนข้างมาก  ปี 64-65 ปล่อยสินเชื่อเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมมอนซูน ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในอาเซียนในสปป.  ลาว

  และในปีหน้าจะเพิ่มประเภทของพันธบัตร เป็นบูลบอน์ด ดอกเบี้ยสินเชื่อต่ำ 6 เปอร์เซ็นต์กว่า ๆ สำหรับอุตสาหกรรมที่ไม่ปล่อยของเสียลงในมหาสมุทร อาหารแปรรูป และน้ำเสียลงทะเล ซึ่งจะออกขายให้ทั้งให้เกิดสินเชื่อฮาลาล ที่มีโอกาสสูงมากในขณะนี้ รวมปี 2566  Exim Bank ปล่อยสินเชื่อกรีนไปแล้ว 50,000 ล้านบาท

ดร.รักษ์ ยอมรับว่าหนักใจกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะจะต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการส่งออก ที่ต้องไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนหรือ Net Zero ร้อยละ 50 ของลูกค้าเอสเอ็มอีปรับตัวไม่ได้เลย

ขณะเดียวกันการแข่งขันทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่หลายแห่งหันไปออกหุ้นกู้แทนการกู้เงินจากสถาบันการเงิน และที่ผ่านมาตลาดหุ้นกู้ประสบปัญหาขาดความน่าเชื่อถือ Exim Bank  จึงใช้ช่องว่างในการหารายได้ด้วยการรีไฟแนนซ์หุ้นกู้ 3 เดือนที่ผ่านมาเป็นวงเงินหมื่นล้านบาท ให้อัตราดอกเบี้ย 2.5 เปอร์เซ็นต์ จำนวนรายถือว่าไม่มาก แต่ได้กำไรและมีความมั่นคง

ดร.รักษ์บอกว่าตลอดปีนี้ Exim Bank ยังเดินหน้าสนับสนุนเศรษฐกิจเชิงรุก แม้ภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกยังไม่กลับมาฟื้นตัว คาดว่าทั้งปีจะมียอดสินเชื่อคงค้างที่ 175,000 ล้านบาท และยังจะสานพลังหน่วยงานพันธมิตรรวมถึงลูกค้าผู้ประกอบการ เดินหน้าพัฒนาประเทศสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งเอสเอ็มอี ไทยไว้ข้างหลัง