ฉบับ ปิติ ตัณฑเกษม
ปิติ ตัณฑเกษม ซีอีโอ ธนาคารทหารไทยธนชาต กล่าวถึงมาตรการของรัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะมาตรการล่าสุด คุณสู้ เราช่วย ว่า ถือว่าเป็นมาตรการที่เรียกได้ว่าดีที่สุดแล้วที่จะหาทางช่วยลูกหนี้ได้ และผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดี เพราะมาตรการนี้แทบจะเรียกว่ายกหนี้ให้กับลูกหนี้ แม้จะมีคนบอกว่าเงื่อนไขของเอกสารของคำขอ ยุ่งยากและอ่านเข้าใจยากมาก แต่ธนาคารก็หาทางช่วยลูกค้า โดยให้พนักงานธนาคารโทรหาลูกค้าตัวต่อตัวเพื่อให้เข้าโครงการ
ถ้าดูการเข้าโครงการจ่ายตรงคงทรัพย์ในส่วนของธนาคาร 10% ของลูกค้ารถหรือลีสซิ่งเข้าโครงการ เท่านั้น เพราะลูกค้าเองไม่ได้มีกำลังมากพอ การตามลูกค้าที่เป็นหนี้ก็ลำบาก ลูกค้าลีสซิ่งพร้อมที่จะหนีหรือไม่ชำระหนี้ตลอดเวลา แบงก์เองก็ไม่ได้อยากยึดรถเพือชำระหนี้ เพราะหายาก บางทีรถอาจจะไม่อยู่กับลูกค้า หรือถูกขายต่อ หรือถูกนำไปขายข้ามแดน เพราะฉะนั้นที่อยากเข้าโครงการจริงๆ ก็จะมีเพียง 10 % เท่านั้น
จะเห็นได้ว่าตอนแรกๆที่มีโครงการมีข่าวว่ารถมือสองราคาลดลงอย่างมากซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากรถไฟฟ้าและแบงก์เรียกชำระคืนหนี้ แต่พอผ่านไปสักพักราคาพรถมือสองก็ไม่ตกอีก เพราะมาตรการนี้ แบงก์ไม่ได้ตั้งใจจะยึดรถเพื่อมาชำระหนี้ และแบงก์เองก็ไม่มีความชำนาญ ราคารถมือสองก็ขยับดีขึ้น
ส่วนโครงการเอสเอ็มอี จริงๆ พวกนี้ไม่มีกำลังมาตั้งแต่แรกแล้วพวกที่เข้าโครงการจริงๆตามข้อมูลของเรามีเพียงแค่ 20% เท่านั้น
ที่เข้าโครงการมากคือ บ้าน หรือที่พักอาศัยเพราะส่วนใหญ่เป็นบ้านหลังแรงก็อยากจะรักษาเอาไว้ ซึ่งเชื่อว่าทั้งระบบก็จะเป็นลักษณะแบบนี้
นายปิติยังบอกอีกว่าโครงการนี้ถือว่าดีที่สุดแล้ว เพราะถัดจากโครงการนี้ก็คือยกหนี้ให้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะจะทำให้เกิด moral hazard ทำแล้วจะทำให้คนเป็นหนี้รอที่จะยกหนี้ให้ จะกระเทือนกันทั้งระบบ
นายปิติยังให้ความเห็นถึงภาพรวมของระบบเศรษฐกิจว่า ปัญหายังคงมีอยู่ ถ้ายังแก้ไขไม่ตรงจุด ที่ผ่านมารัฐบาลทำเพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเติมเงิน 10,000 บาท แต่ทำไม่ครบ นอกจากใส่เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งแน่หล่ะ ใส่เงินให้ได้ไม่ครบทั้งหมด มันควรจะต้องมีการซ่อมระบบด้วย คือการพยายามสร้างอาชีพ หรือทำให้ประชาชนมีงานทำ และสิ่งที่สำคัญคือสร้าง
ระบบ ควรจะต้องทำทั้งกระตุ้น ซ่อม สร้าง “ผมก็พยายามขายไอเดีย แบบนี้ไปให้คนในระดับรัฐบาล ในระดับหัวๆ ของพรรคการเมือง คนใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ในพรรคการเมือง ว่าควรจะต้องคิดต่อยอดให้จบ”
ปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้คือ คนรวยไม่ยอมใช้เงิน ส่วนคนจน เงินที่ส่งไปให้ โดยเฉพาะเงินหมื่น ก็ถูกนำไปชำระหนี้ เงินก็ไม่หมุนเข้าระบบ ถ้าเราทำมาตรการเพื่อให้คนรวยใช้เงิน แต่ต้องมี intensive ให้พวกเค้าด้วย รัฐบาลก็จะต้องไปคิดต่อว่าจะทำอย่างใรให้คนมีเงินมาใช้เงินมากขึ้น เช่นอาจจะต้องใช้ vat เข้าช่วย
ส่วนมาตรการแจกเงิน 10,000 ระยะที่สามที่รัฐบาลยืนยันว่าจะต้องเป็นเงินผ่านระบบดิจิทัล ตอนนี้สมาคมธนาคารไทยกำลังช่วยกันกับภาครัฐอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ได้เป็นรูปธรรม และเงินกระจายและหมุนไปหลายๆ รอบ เสนอความเห็นว่าอาจจะทำเป็นเหมือน คูปอง เช่นให้เป็นคูปองไปใช้เงินซื้อของในร้านที่เข้ามาอยู่ในระบบ ของที่ซื้อได้ต้องอยู่ในลิสต์ที่รัฐกำหนด เท่านั้น เท่าที่ดูจากข้อมูล เห็นว่ามีความเป็นไปได้และอยู่ระหว่างการทดสอบระบบอยู่