TRENDING: สทนช.-บพท.จับมือกันปั้นหลักสูตรนักบริหารจัดการน้ำ Read More

TRENDING: CKPower เดินหน้าส่งไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Read More

TRENDING: กทม. เตือนค่าฝุ่นกลับมาสูงอีกครั้ง 30 ม.ค. – 5 ก.พ. นี้ ย้ำงดเผา และ ร่วมจับตารถควันดำ Read More

TRENDING: เมืองไทยประกันชีวิต ชูกลยุทธ์ Read More

TRENDING: ธอส. ต้อนรับเดือนแห่งความรัก พร้อมสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ยื่นขอสินเชื่อบ้านร่วมกันได้แล้วทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป Read More

กุมภาพันธ์ 17, 2025

ตลาดฯเตรียมเสนอคลัง นิรโทษกรรมภาษี

สำหรับธุรกิจที่ต้องการทำ เอ็มแอนด์เอ

นายอัสสเดช คงสิริ  กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการจัมพ์ พลัส ที่ตั้งเป้าหมายในการช่วยยกระดับของบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพ แต่ราคาหุ้นมีปัญหา ซึ่งจะช่วยได้ทั้งในเรื่อง good governance และ good performance  และน่าจะเรียกความเชื่อมั่นในตลาดทุนกลับมาได้  รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าหุ้นของบริษัทได้จากปัจจุบันที่ต่ำกว่าความเป็นจริง

ในหลักการของจัมพ์พลัส คือจะหนุนในเรื่องของการควบรมมธุรกิจหรือเอ็มแอนด์เอ เพื่อจะทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น “เอ็มแอนด์เอ อาจจะมีปัญหาเพราะบรัทที่เข้าไปควบรวมซึ่งอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์อาจจะมีระบบบัญชี  2 เล่ม ก็จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า หากมีการควบรวมธุรกิจภายใน 3 ปีกำไรที่เกิดจากการควบรวม ขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะถือว่าเป็นรายได้ส่วนเกินของบริษัทที่ทำงานหนักขึ้น หากไม่มีการควบรวมรายได้ไม่เกิด ส่วนนี้ก็จะเป็นการเพิ่มแรงดึงดูดให้บริษัทที่ดี ทำการควบรวมธุรกิจให้เติบโตเพิ่มมากขึ้น นอกจากขอยกเว้นการเก็บภาษีในส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ยังจะยกเว้นการเก็บภาษีย้อนหลังในส่วนของของบริษัท 2 หรือนิรโทษกรรมในส่วนนี้เพิ่มแรงจูงใจมากขึ้นและเท่ากับเป็นการขยายฐานภาษีเพิ่มขึ้นด้วย”

นายอัสสเดชบอกว่าคาดว่าจะทำรายละเอียด แผนการ แนวทางและวิธีการ ให้เสร็จเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังภายใน 2 สัปดาห์นี้ พร้อมๆ กับแผนในเรื่องของการกระตุ้นแอลทีเอฟไม่เทขายหน่วยลงทุน

สิ่งที่บริษัทจะได้รับจากตลาดหลักทรัพย์หากเข้าโครงกานี้ คือ เป็นการสร้างการเติบโตให้กับบริษัทจดทะเบียน เห็นผลจับต้องได้ชัดเจน การได้ผลตอบแทนพิเศษเช่น ตลาดหลักทรัพย์ออกค่าโรดโชว์ในการไปต่างประเทศ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมรายปี และที่สำคัญสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

โดยคาดว่าในไตรมาสสองหากกระทรวงการคลังอนุมัติก็จะสามารดำเนินการได้ในไตรมาสสองปีนี้คาดว่าจะมีบริษัทจดทะเบียนมาใช้บริการมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ส่วนเรื่องการซื้อหุ้นคืนนั้น ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อปรับกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค ทั้งระยะเวลาการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนให้สะดวกมากขึ้น มีความคล่องตัว และเหมาะสม เช่นอาจจไม่ได้ต้องเว้นวรรค 6 เดือนสำหรับการซื้อหุ้นคืนรอบใหม่หรือขายหุ้นคืนในเวลาที่กำหนดทั้งที่ภาวะตลาดในตอนนั้นไม่เอื้ออำนวย