TRENDING: SME D Bank ได้คะแนนปรับเพิ่ม ผลประเมิน Fair Finance ปี 2566 Read More

TRENDING: CKPower กวาดรายได้ 10,941 ล้านบาท ปี 66 Read More

TRENDING: SME D Bank ผนึกกำลัง ดีพร้อม – บสย. ติดปีกเอสเอ็มอี Read More

TRENDING: รวมพล..คนฮัจย์ Read More

TRENDING: EXIM BANK คว้ารางวัล Leadership Excellence Award Read More

ตุลาคม 30, 2023

ผู้ว่า ธปท .ผมเป็นคนดื้อ

ผู้ว่า ธปท .ดื้อเงียบเงินดิจิทัล

การบริหารแบบ Resilence ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ทีมผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย พบปะสื่อมวลชนในงานเพรสทริป จัดขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจในภารกิจในการดูแศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้บริบทแบบใหม่ ด้วยการรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ ภายใต้ความจำกัดของโลกโดยเฉพาะความไม่แน่นอนในเรื่องของ Geo Politic ความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนกระทบกับภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาสนฤพุฒิ หรือ ดร.นก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่าได้ปรับโหมด การดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยอธิบายว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของโลกว่า เติบโตค่อนข้างช้า ความวุ่นวายความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และยุโรป สงครามระหว่างยูเครน รัสเซีย และเติบเชื้อไฟที่ระอุอยู่แล้วด้วยสงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส

แม้สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมของไทยยังเติบโต แต่ไม่สามารถชะล่าใจได้  เพราะปัญหาภายในประเทศโดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่ขยับตัวสูงถึง 90.7% ปัญหาการหนี้สาธารณะทางการคลัง ทำให้พูดได้ว่า”เสถียรภาพ ไม่ ok” เงินทุนไหลออกสูงถึง 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสวนทางกับประเทศอื่นๆที่ยังมีเงินทุนไหลเข้า

ยังมีปัญหาในเชิงของนโยบายแจกเงินคนละ 10,000 บาทให้กับประชาชนที่เป็นเงินโดยรวม 5.6 แสนล้านบาท จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป  ซึ่งบริษัทเครดิตเรทติ้งมีความกังวลในเรื่องความไม่ชัดเจนดังกล่าว หากดำเนินการจริงจะส่งผลต่อภาระหนี้สาธารณะ และอาจจะนำไปสู่การปรับลดเครดิตของประเทศ

สิ่งที่ทำได้คือการปรับโหมด มาเป็นการเสริมสร้าง Resilience  ให้เศรษฐกิจปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่นรองรับ shock และเติบโตได้อย่างยั่งยืน ที่จะต้องดำเนินการต่อเนื่องคือ รักษาเสถียรภาพทางการเงินด้วยการใช้เครื่องมือนโยบายต่างๆให้สอดคล้องกับสิ่งที่เปลี่ยนไปทั้งในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย  สร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจด้วยการสร้าง buffer และเพิ่มทางเลือก รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ในการเติบโจจากความยั่งยืนและกระแสดิจิทัล

ด้วยการทยอยถอนคันเร่งทั้งในเรื่องของมาตรการช่วยเหลือที่เกิดจากผลกระทบโควิด 19 เข้าสู่กปกติ ผ่อนปรนการจัดชั้นสำรอง จำกัดการจ่ายเงินปันผล ปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว  เน้นการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน  ลดภาระหนี้ชั่วคราวให้ลูกหนี้และสนับสนุนผู้ประกอบการให้ใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการทำธุรกิจ ลดความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ขณะเดียวกันก็จะสร้างโอกาสใหม่ๆด้านธุรกิจจากกระแสโลกใหม่  เปิดให้มีการเชื่อมโยงการทำธุรกิจกับต่างประเทศ เช่นควิอาร์เพย์เมนท์ คิวอาร์โคด สร้างเสริมให้มีการทำฟินเทคเพิ่มมากขึ้น และสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการวางรากฐานการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

บริบทใหม่ในครั้งนี้บางส่วนได้เริ่มดำเนินการไปแล้วและจะต้องทำต่อๆไป

ดร.นกยังย้ำถึงนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของการแจกเงินดิจิทัลในวงกว้าง ว่ายังคงยึดในหลักการเดิมคือแจกได้แต่ควรจะเป็นการแจกแบบเฉพาะเจาะจง ให้ตรงจุด จะได้ใช้เงินงบประมาณที่มีอยู่จำกัดไปใช้ในเรื่องที่เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังคงแนวความคิดนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ถอดใจท่ามกลางกระแสกดดันจากพรรคการเมือง “ผมเป็นคนดื้อ ถ้าจะบังคับให้ต้องออก ต้องมีเหตุผล หรือต้องปลดออกจากตำแหน่ง และจะรักษาแนวความคิดนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ถึงขนาดที่ไม่ไปประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่มาราเกซ ในคร้งที่ผ่านมาเพราะเกรงว่าหากคณะอนุกรรมการเรื่องเงินดิจิทัล 5.6 แสนล้านเรียกประชุมแล้วจะไม่ได้เข้าประชุมเพื่อยืนยันแนวคิดที่ตั้งใจไว้ “

การบริหารแบบ Resilence ของธนาคารแห่งประเทศไทย